คดี มรดกและทรัพย์สิน
ภาษีมรดกคืออะไร-ทำไมจึงต้องจ่ายภาษีมรดก
ภาษีการรับมรดก เป็นอีกหนึ่งช่องทางรายได้ที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เป็นการช่วยกระจายภาระภาษี หารายได้เข้ารัฐ และช่วยให้การใช้ทรัพยากรของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีผลประกาศใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 กพ.59 เป็นต้นมา
ภาษีมรดก เป็นภาษีที่เก็บจากผู้รับมรดกโดยตรง คือทายาทตามพินัยกรรม หรือทายาทโดยธรรม ผู้ได้รับมรดก ต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย และแม้จะไม่ใช่บุคคลที่มีสัญชาติไทย แต่หากทรัพย์สินนั้นอยู่ในประเทศไทยก็ต้องเสียภาษีเช่นกัน แล้วต้องจ่ายในอัตราเท่าใด ถ้าบุพการีคุณ มีมรดกรวมกันเกินกว่า 100 ล้านบาท ให้เสียภาษีในส่วนที่เกินจาก 100 ล้านบาทนั้น ในอัตราภาษี ดังนี้
- ผู้รับมรดกเป็นบุพการี หรือผู้สืบสันดาน เสียภาษีร้อยละ 5 ของมูลค่ามรดก
- กรณีอื่นๆ เช่น ผู้รับพินัยกรรม เสียภาษีร้อยละ 10 ของมูลค่ามรดก
ข้อยกเว้น ไม่ต้องจ่ายภาษีข้างต้น
- ยกเว้น สำหรับคู่สมรส
- หรือ ยกมรดกให้เพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษา กิจการสาธารณประโยชน์ หน่วยงานรัฐ หรือองค์กรระหว่างประเทศที่ทำเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้
มีทรัพย์สินอะไรบ้าง ต้องเสียภาษีการรับมรดก
- อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างทั้งหลาย
- หลักทรัพย์ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ เช่น หุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน ตราสารหนี้ ตราสารอนุพันธ์ต่างๆ
- เงินฝาก หรือเงินอื่นใด ที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน
- ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน ได้แก่ รถ เรือ มอเตอร์ไซค์
- . ทรัพย์สินทางการเงิน ที่กำหนดเพิ่มขึ้นตามกฎหมายในอนาคต ( ถ้ามี )
ระยะเวลาที่ต้องชำระ
ภายใน 150 วัน นับตั้งแต่วันได้รับมรดก
อัตราโทษ
ไม่จ่ายภาษีตามที่กำหนด เป็นความผิดอาญามีโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท และอธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจสั่งยึด อายัด หรือนำไปขายทอดตลาดทรัพย์มรดกโดยไม่ต้องขอศาลได้อีก
ไม่วางแผนมรดกและทรัพย์สิน ปัญหาคือ ครอบครัวของคุณจะฟ้องร้องคดีกันเองไม่รู้จบ ให้มืออาอาชีพทางกฎหมายดูแลตั้งแต่ต้น จะได้หมดห่วง
การเขียนพินัยกรรม
เป็นการส่งมอบทรัพย์สินให้บุคคลในครอบครัว หรือคนที่เรารัก เพื่อวางแผนมรดกตามเจตนารมณ์ หากไม่ทำไว้จะก่อปัญหาในอนาคต ไม่ว่า
1. ต้องจ่าย ภาษีมรดก (ในอัตราสูงมาก )
2. การฟ้องร้องดำเนินคดีกันเอง ภายในครอบครัว ฯ
พินัยกรรม มี 5 แบบ ตาม ป.พ.พ. มีดังนี้
1. แบบ ธรรมดา (มาตรา 1656)
2 แบบ.เขียนเองทั้งฉบับ ( มาตรา 1657)
3. แบบ ทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง ( มาตรา 1658)
4. แบบ ทำเป็นเอกสารลับ ( มาตรา 1660)
5. แบบ ทำด้วยวาจา ( มาตรา 1663)
ไม่วางแผนมรดกและทรัพย์สิน ปัญหาคือ ครอบครัวของคุณจะฟ้องร้องคดีกันเองไม่รู้จบ ให้มืออาอาชีพทางกฎหมายดูแลตั้งแต่ต้น จะได้หมดห่วง
ธรรมนูญครอบครัว คืออะไร
…………………………………………………………..