แบบพินัยกรรม
พินัยกรรม คือ คำสั่งครั้งสุดท้าย ซึ่งแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือ จการต่าง ๆ ของผู้ทำพินัยกรรม เพื่อที่จะเกิดผลบังคับตามกฎหมาย เมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย โดยทำแบบใดแบบหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนี้
พินัยกรรม มี 5 แบบ ตาม ป.พ.พ. มีดังนี้
1. แบบ ธรรมดา (มาตรา 1656)
2 แบบ.เขียนเองทั้งฉบับ (มาตรา 1657)
3. แบบ ทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง (มาตรา 1658)
4. แบบ ทำเป็นเอกสารลับ ( มาตรา 1660)
5. แบบ ทำด้วยวาจา ( มาตรา 1663)
1 พินัยกรรม แบบธรรมดา
1. ต้องทำเป็นหนังสือ โดยจะเขียนหรือพิมพ์ (ภาษาไทย/ต่างประเทศก็ได้)
2. ต้องลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำ เพื่อพิสูจน์ความสามารถของผู้ทำ
3. ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน จะลงลายมือชื่อหรือพิมพ์นิ้วมือก็ได้ แต่จะใช้ตรา ประทับแทนการลงชื่อหรือเครื่องหมายแกงไดไม่ได้ และพยานที่จะลงลายมือชื่อ ในพินัยกรรมจะพิมพ์ลายนิ้วมือหรือใช้ตรา ประทับ หรือลงแกงได หรือลงเครื่องหมายอย่างอื่นแทนการ ลงชื่อไม่ได้ จะต้องลงลายมือชื่ออย่างเดียว
4. การขูด ลบ ตกเติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น ซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ในขณะ ที่ขูด ลบ ตกเติม หรือ แก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น ได้ลงวัน เดือน ปี และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์นิ้วมือต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน พร้อมกัน และพยานอย่างน้อยสองคนนั้นต้องลง ลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมในขณะนั้น (ต้องเป็นพินัยกรรมแล้ว) ลายพิมพ์นิ้วมือของผู้เป็นโรคเรื้อน (ไม่มีลายนิ้วมือ) หากมีพยานลงลายมือชื่อรับรองถูกต้องย่อมใช้ไม่ได้
2.พินัยกรรม แบบเขียนเองทั้งฉบับ
1. ต้องทำเป็นเอกสาร คือ ทำเป็นหนังสือโดยจะใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศก็ได้
2. ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยลายมือของตนเองทั้งฉบับจะพิมพ์ไม่ได้ เพราะฉะนั้นผู้เขียนหนังสือไม่ได้ ไม่สามารถจะทำพินัยกรรม แบบนี้ได้ พินัยกรรมแบบนี้จะมีพยานหรือไม่มีก็ได้ เพราะกฎหมายไม่ได้ ห้ามไว้
3. ต้องลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำลงเพื่อพิสูจน์ความสามารถ และการทำก่อนหลังฉบับอื่น
4. ต้องลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม จะใช้ลายพิมพ์นิ้วมือ หรือแกงได หรือเครื่องหมายอย่างอื่นไม่ได้
5. การขูด ลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำ พินัยกรรมจะได้ทำด้วยมือตนเอง และลงลายมือชื่อกำกับไว้
– การขูด ลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ที่มิได้ทำด้วยตนเอง หรือลงลายมือชื่อกำกับ ไว้เท่านั้นที่ไม่สมบูรณ์
– ส่วนข้อความเดิมหรือพินัยกรรมยังคงใช้บังคับได้ตามเดิม ไม่ทำให้โมฆะทั้งฉบับ
- พินัยกรรม แบบทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง
การขอทำพินัยกรรมเป็นเอกสารฝ่ายเมือง ผู้ร้องสามารถยื่นคำร้องขอให้กรมการอำเภอ (นายอำเภอ) อำเภอใดก็ได้ ดำเนินการให้ตามความประสงค์ ดังนี้
1. ผู้ทำพินัยกรรม แจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนแก่นายอำเภอต่อหน้า พยานอีกอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน
2. นายอำเภอจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบแล้วนั้นลงไว้ และอ่านข้อความนั้น ให้ผู้ทำ พินัยกรรมและพยานฟัง
3. เมื่อผู้ทำพินัยกรรมและพยานทราบแน่ชัดว่า ข้อความที่นายอำเภอจดนั้นเป็นการถูกต้องตรงกัน กับที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งไว้แล้ว ให้ผู้ ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ ข้้อความที่นายอำเภอจดไว้นั้น ให้นายอำเภอลงลายมือชื่อ และลงวัน เดือน ปี จดลงไว้ด้วยตนเอง เป็นสำคัญว่า พินัยกรรมนั้นได้ทำ ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ข้างต้น แล้วประทับตราตำแหน่ง ไว้เป็นสำคัญ
– การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ไม่จำเป็นต้องทำในที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอเสมอไป ถ้าผู้ทำร้องขอจะทำนอกที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอก็ได้ เมื่อทำพินัยกรรมเสร็จแล้ว ถ้าผู้ทำพินัยกรรม ไม่มีความประสงค์จะขอรับเอาไปเก็บรักษาเองโดยทันทีแล้ว ให้เป็นหน้าที่ของนายอำเภอจัดเก็บรักษา พินัยกรรมนั้นไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอก็ได้
– เมื่อความปรากฏว่า ผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตายแล้ว ผู้จัดการมรดก หรือผู้ได้รับทรัพย์มรดก โดยพินัยกรรม หรือโดยสิทธิ โดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุด หรือผู้ซึ่งทำพินัยกรรมให้ จะขอรับพินัยกรรม ไปไว้ โดยแสดงหลักฐานการตายของผู้ทำพินัยกรรม เมื่อสอบสวนเป็นที่พอใจแล้ว ให้นายอำเภอมอบ พินัยกรรมนั้นให้ไป - .พินัยกรรม แบบเอกสารลับ
เมื่อมีผู้ประสงค์จะทำพินัยกรรมเป็นเอกสารลับ ให้ผู้นั้นแสดงความจำนงตามแบบของเจ้าพนักงาน ยื่นต่อกรมการอำเภอ (นายอำเภอ) ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอแล้วปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
1. ต้องมีข้อความเป็นพินัยกรรมและลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม
2. ผู้ทำพินัยกรรมต้องผนึกพินัยกรรม แล้วลงลายมือชื่อคาบรอยผนึก
3. ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกนั้น ไปแสดงต่อนายอำเภอและพยานอย่างน้อย 2 คนและ ให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมด นั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน ถ้าพินัยกรรมนั้นผู้ทำพินัยกรรมเขียนเอง โดยตลอด ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งนามและภูมิลำเนา ของผู้เขียนให้ทราบด้วยเมื่อนายอำเภอจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม และวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมมาแสดงไว้ในซองพับ และประทับตราประจำตำแหน่ง แล้วนายอำเภอผู้ทำพินัยกรรม และพยานลงลายมือชื่อบนซองนั้น
– บุคคลผู้เป็นทั้งใบ้ และหูหนวก หรือผู้ที่พูดไม่ได้ มีความประสงค์จะทำพินัยกรรมเป็นเอกสารลับ ก็ได้ โดยให้ผู้นั้นเขียนด้วยตนเองบนซองพินัยกรรมต่อหน้านายอำเภอ และพยานอย่างน้อย 2 คน ว่า พินัยกรรมที่ผนึกนั้นเป็นของตน แทนการให้ถ้อยคำ
– ถ้าผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารลับประสงค์ขอรับไปทันที ก็ให้นายอำเภอมอบให้ไปได้ โดยให้ผู้ทำ พินัยกรรมแบบ เอกสารลับ ประสงค์ขอรับไปทันที ก็ให้นายอำเภอมอบให้ไปได้ โดยให้ผู้ทำพินัยกรรม ลงลายมือชื่อรับในสมุด ทะเบียน
5. พินัยกรรม แบบทำด้วยวาจาเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งบุคคลใดไม่สามารถจะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมายกำหนด ไว้ได้ เช่น ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความ ตาย หรือเวลามีโรคระบาด หรือสงคราม ซึ่งในพฤติการณ์เช่นนี้ ผู้ทำพินัยกรรมไม่อาจหาเครื่องมือเครื่องเขียนได้ทันท่วงที หรือกว่าจะ หาได้ก็ถึงตายเสียก่อน ผู้ทำ พินัยกรรมสามารถทำพินัยกรรมด้วยวาจาได้ ดังนี้
1. ผู้ทำพินัยกรรมแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน ซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น
2. พยานทั้งหมดต้องไปแสดงตนต่อนายอำเภอโดยมิชักช้า และแจ้งให้นายอำเภอทราบถึง ข้อความเหล่านี้
– ข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจา
– วัน เดือน ปี สถานที่ที่ทำพินัยกรรม
– พฤติการณ์พิเศษที่ขัดขวางมิให้สามารถทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นด้วย ให้นายอำเภอจดข้อความที่พยานแจ้งไว้ และพยานทั้งหมดนั้นต้องลงลายมือชื่อ ถ้าลงลายมือชื่อไม่ได้ จะลงลายพิมพ์นิ้วมือ โดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง 2 คนก็ได้ และความสมบูรณ์แห่งพินัยกรรมนี้ ย่อมสิ้นไป เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่เวลา ผู้ทำพินัยกรรมกลับมาสู่ฐานะที่จะทำพินัยกรรมตาม แบบอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้
พินัยกรรม 5 แบบ ต่างกันที่
- แบบที่ 1 – 2 ทางอำเภอ ไม่มีหน้าที่ต้องเกี่ยวข้อง
- แบบที่ 3 ,4, 5 ทางอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง
พินัยกรรม คือ คำสั่งครั้งสุดท้าย ซึ่งแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือ กิจการต่าง ๆ ของผู้ทำพินัยกรรม เพื่อที่จะเกิดผลบังคับตามกฎหมาย เมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย กฎหมายกำหนด 5 แบบ
เขียนพินัยกรรม ควรทำไว้อย่างยิ่งเพราะเป็นการส่งมอบทรัพย์สินให้บุคคลในครอบครัว หรือคนที่เรารัก เพื่อเป็นการวางแผนมรดกอย่างเป็นรูปธรรมตามเจตนารมณ์ หากไม่ทำไว้จะก่อปัญหาในอนาคตไม่ว่า 1. ต้องจ่ายภาษีมรดก(ในอัตราสูง) 2.การฟ้องร้องดำเนินคดีกันเอง ในครอบครัว
การตัดทายาทโดยธรรม มิให้รับมรดก
ให้ผู้ประสงค์จะตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก ให้ผู้นั้นยื่นคำร้องแสดงความจำนงตามแบบ ของเจ้าพนักงานต่อนายอำเภอ ที่ว่าการ อำเภอ กิ่งอำเภอ การตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดกนั้น อาจทำได้ 2 วิธี
1 โดยพินัยกรรม
2 โดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่การตัดทายาทโดยธรรมตามข้อ 1 จะทำตามแบบพินัยกรรมแบบใด ๆ ก็ได้ โดยระบุตัดทายาท ที่ถูกตัดไว้ให้ชัดแจ้ง การตัดทายาทโดยธรรมตามข้อ 2 นั้น ผู้ทำพินัยกรรมจะทำเป็นหนังสือด้วยตนเอง แล้วนำไป มอบแก่นายอำเภอ หรือจะให้นายอำเภอ จัดทำไว้ให้ก็ได้
การถอนการตัดทายาทโดยธรรม มิให้รับมรดก
ผู้ประสงค์จะถอนการตัดทายาทโดยธรรมของตนมิให้รับมรดก ซึ่งได้แสดงเจตนาไว้แล้ว สามารถกระทำได้ดังนี้
1. ถ้าการตัดมิให้รับมรดกนั้นได้ทำโดยพินัยกรรม จะถอนเสียได้ก็แต่โดยพินัยกรรมเท่านั้น
2. ถ้าการตัดมิให้รับมรดกได้ทำเป็นหนังสือมอบให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ การถอนจะทำโดย พินัยกรรม หรือทำเป็นหนังสือมอบ ไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ได้
การสละมรดก
ผู้ประสงค์จะสละมรดก ให้ทำคำร้องแสดงความจำนงตามแบบของเจ้าพนักงานต่อ นายอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอ ทำได้ 2 วิธี คือ
1. ทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งอาจทำเอง หรือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำให้ก็ได้
2. ทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความการสละมรดกนั้นจะทำแต่เพียงบางส่วน หรือทำโดยมีเงื่อนไข หรือมีเงื่อนเวลาไม่ได้ และเมื่อสละแล้ว จะถอนไม่ได้