a

Facebook

Twitter

Copyright 2021 P.J.S Lawfirm.
All Rights Reserved.

เปิดให้บริการทุกวัน

ไม่เว้นวันหยุดราชการ-วันหยุดนักขัตฤกษ์

โทรปรึกษาฟรี

0833443535 | 0830945514

Facebook

Line

Tiktok

Youtube

Search
Menu

คดี ฟอกเงินกับคำวินิจฉัยศาลฏีกา

a

เมื่อตกเป็นผู้ต้องหา เพื่อน-คนรู้จัก จะพากันหายหน่้ากันหมด จะมีกี่คนที่รู้จริงคอยช่วยเหลือแก้ปัญหาทันท่วงที ในชั้นตำรวจ-ชั้นศาล ส่วนใหญ่ได้แค่มาพูดปลอบใจช่วยอะไรไม่ได้เลย จะเห็นสัจธรรมชีวิตก็คราวนี้

หลักการและเหตุผล    ปัจจุบันผู้ประกอบอาชญากรรมซึ่งกระทำความผิดกฎหมาย 29  ความผิดมูลฐานนี้ ได้นำเงินหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดนั้นมา มาฟอกเงิน เพื่อนำเงินหรือทรัพย์สินนั้นไปใช้เป็นประโยชน์ในการกระทำความผิดต่อไปได้อีก   ทำให้ยากแก่การปราบปรามการกระทำความผิดกฎหมายเหล่านั้น

และด้วยที่กฎหมายที่มีอยู่ก็ไม่สามารถปราบปรามการฟอกเงินหรือดำเนินการกับเงินหรือทรัพย์สินนั้นได้เท่าที่ควร ดังนั้น เพื่อเป็นการตัดวงจรการประกอบอาชญากรรม และดำเนินการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ   จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ เรียกว่า  พ.ร.บ.ฟอกเงิน    อันประกอบไปด้วย   ความผิดมูลฐานเหล่านี้  29  มูลฐานความผิดนี้  

  1. ความผิดเกี่ยวกับ  ยาเสพติด และ กฎหมายมาตราการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
  2. ความผิดเกี่ยวกับ  การค้ามนุษย์  หรือ ความผิดตามกฎหมายอาญา ในความผิดเกี่ยวกับเพศ
  3. ความผิดเกี่ยวกับ  การฉ้อโกงประชาชน ( ตามประมวลกฎหมายอาญา ) หรือความผิดตามกฎหมายว่าด้วย การกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน
  4. ความผิดเกี่ยวกับ  การยักยอก/ฉ้อโกง / ประทุษร้ายต่อทรัพย์ หรือกระทำโดยทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์หรือตลาดหลักทรัพย์
  5. ความผิดต่อ  ตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแ่หน่งหน้าที่ในการยุติธรรม  ( ตามประมวลกฎหมายอาญา )
  6. ความผิดเกี่ยวกับ  การกรรโชก หรือ รีดเอาทรัพย์  หรืออั้งยี่ซ่องโจร ( ตามประมวลกฎหมายอาญา ) .
  7. ความผิดเกี่ยวกับ  การลักลอบหนีศุลกากร  ตาม ( พรบ.ศุลกากร )
  8. ความผิดเกี่ยวกับ  การก่อการร้าย ( ตามประมวลกฎหมายอาญา )
  9. ความผิดเกี่ยวกับ  การพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน (เฉพาะผู้จัดให้มีการเล่นวงเงิน 5 ล้านบาทขึ้นไป หรือจัดให้มีการเล่นการพนันทางสื่ออีเลคทรอนิคส์)
  10. ความผิดเกี่ยวกับ  การเป็นสมาชิกอั้งยี่ ( ตามประมวลกฎหมายอาญา ) หรือ มีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมที่มีกฎหมายกำหนดเป็นความผิด
  11. ความผิดเกี่ยวกับ  การรับของโจร ( ตามประมวลกฎหมายอาญา )  เฉพาะกที่เกี่ยวกับการช่วยจำหน่าย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยประการใดซึ่งทรัพย์สินที่ได้มาโดยการกระทำควาผิดอันมีลักษณะเป็นการค้า
  12. ความผิดเกี่ยวกับ  การปลอมหรือแปลงเงินตรา  ดวงตรา แสตมป์ หรือตั๋วตามประมวลกฎหมายอาญาอันมีลักษณะเป็นการค้า
  13. ความผิดเกี่ยวกับ  การค้า ( ตามประมวลกฎหมายอาญา ) เฉพาะุที่เกี่ยวกับการปลอม หรือการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของสินค้าหรือความผิดตามกฏหมายเกี่ยวกับการคุุ้มครองทรัพย์สินทางปัญาอันมีลักษณะเป็นการค้า
  14. ความผิดเกี่ยวกับ  การปลอมเอกสารสิทธิ  บัตรอีเล็กทรอนิกส์ หรือ หนังสือเดินทาง  ( ตามประมวลกฎหมายอาญา ) อันมีลักษณะเป็นปกติหรือเพื่อการค้า
  15. ความผิดเกี่ยวกับ  ทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมโดยการใช้ ยึดถือ หรือครอบครองทรัพย์ยากรธรรมช่าติหรือกระบวนการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติโดยมิชอบด้วยกฎหมายอันมีลักษณะเป็นการค้า
  16. ความผิดเกี่ยวกับ การประทุษร้ายต่อชีวิตหรือร่างกายจนเป็นเกิดอันตรายสาหัส ( ตามประมวลกฎหมายอาญา )  เพื่อให้ได้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สิน
  17. ความผิดเกี่ยวกับ  การหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น ( ตามประมวลกฎหมายอาญา )  เฉพาะกรณีเพื่อเรียกหรือรับผลประโยชน์หรือเพื่อต่อรองให้ได้ผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง
  18. ความผิดเกี่ยวกับ การลักทรัพย์  กรรโชก  รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์  ฉ้อโกง หรือยักยอก (ตามประมวลกฎหมายอาญา) อันมีลักษณะเป็นปกติธุระ
  19. ความผิดเกี่ยวกับ การกระทำอันเป็นโจรสลัด  ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นโจรสลัด
  20. ความผิดเกี่ยวกับ  การกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  21. ความผิดเกี่ยวกับ  อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ฯ เฉพาะที่เป็นการค้า
  22. ความผิดเกี่ยวกับ   การกระทำการเพื่อจูงใจเพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง  ลงคะแนนให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่น ในการสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  23. ความผิดเกี่ยวกับ   การกระทำการเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นสมัครเข้ารับการเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือถอนการสมัคร ฯ
  24. ความผิดเกี่ยวกับ   การมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ
  25. ความผิดเกี่ยวกับ   การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
  26. ความผิดเกี่ยวกับ   การสนับสนุนทางการเงินแก่การแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
  27. ความผิดเกี่ยวกับ  การหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษีตามประมวลรัษฏากร
  28. ความผิดเกี่ยวกับ  การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ ที่เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำได้รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย  ( ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ )
  29. ความผิดเกี่ยวกับ การกระทำการเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนแก่ตนหรือผู้สมัครอื่น ให้งดเว้นการลงคะแนนแก่ผู้สมัคร หรือ ชัดชวนไปคะแนนไม่เลือกผู้ใด เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ้น  ( ตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตัั้งสภาท้องถิ่้นหรือผู้บริหารท้องถิ่น )

 


ลักษณะการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน

-ผู้ที่โอน รับโอน หรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐานเพื่อซุกซ่อนหรือปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สิน หรือเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นไม่ว่าก่อน ขณะหรือหลังการกระทำความผิดมิให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง หรือกระทำการใด ๆ เพื่อปกปิดหรืออ าพรางลักษณะที่แท้จริงการได้มาแหล่งที่ตั้ง การจำหน่ายการโอน การได้สิทธิใด ๆ ซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฟอกเงิน  (มาตรา ๕)

-ผู้ที่กระทำความผิดฐานฟอกเงิน แม้ทำความผิดนอกราชอาณาจักรผู้นั้นก็ต้องรับโทษในราชอาณาจักร ถ้าผู้กระทำความผิดหรือผู้ร่วมกระทำความผิดคนใดคนหนึ่งเป็นคนไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย หรือผู้กระทำความผิดเป็นคนต่างด้าว และได้กระทำโดยประสงค์ให้ความผิดเกิดขึ้นในราชอาณาจักร หรือรัฐบาลไทยเป็นผู้เสียหาย หรือ ผู้กระทำความผิดเป็นคนต่างด้าว และการกระทำนั้นเป็นความผิดตามกฎหมายของรัฐที่การกระทำเกิดขึ้นในเขตอำนาจของรัฐนั้น หากผู้นั้นได้ปรากฏตัวอยู่ในราชอาณาจักรและมิได้มีการส่งตัวผู้นั้น
ออกไปตามกฎหมายว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน (มาตรา ๖)

-ผู้ที่สนับสนุนหรือช่วยเหลือผู้กระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิด หรือจัดหาหรือให้เงินหรือทรัพย์สิน ยานพาหนะ สถานที่ หรือวัตถุใด ๆ หรือกระท าการใด ๆ เพื่อช่วยให้ผู้กระทำความผิดหลบหนีหรือเพื่อมิให้ผู้กระท าความผิดถูกลงโทษ หรือเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในการกระทำาความผิด ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับ ตัวการในความผิดนั้น (มาตรา ๗)

– พยายามกระทำความผิดฐานฟอกเงิน ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้สำาหรับความผิดนั้นเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดสำเร็จ (มาตรา ๘)

– ตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงิน ต้องระวางโทษกึ่งหนึ่งของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น (มาตรา ๙)

หลักสำคัญ กฎหมายฟอกเงินนี้ ท่านที่ถูกดำเนินคดี จะต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์การได้มาซึ่งทรัพย์สิน ทั้งหมดที่ถูกยึด/อายัด ไป หากพิสูจน์ว่าได้มาโดยสุจริต ต้องผ่านการเสียภาษีถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่เคยเสียภาษีมาก่อนอาจจะถูก สรรพากร ดำเนินคดีซ้ำอีก เจอทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม เรียกว่า “หนีเสือปะจรเข้”

  • เมื่อตรวจสอบรายงานและข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรม หากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินใดที่เป็นทรัพย์สินทีเกี่ยวกับการกระทำความผิด ให้คณะกรรมการธุรกรรมมีอำนาจสั่งยึดทรัพย์สินไว้ชั่วคราวมีกำหนดไม่เกินเก้าสิบวัน (มาตรา ๔๘ วรรคหนึ่ง) กรณีปรากฏหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ให้เลขาธิการส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพิจารณาเพื่อยืนคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินโดยเร็ว (มาตรา ๔๙)
  • เมื่อศาลรับคำร้องแล้ว ให้ศาลสั่งให้ปิดประกาศไว้ที่ศาลนั้น และประกาศอย่างน้อยสองวันติดต่อกันในหนังสือพิมพ์ที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นเพื่อให้ผู้ซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของหรือมีส่วนได้เสียในทรัพย์สินมายื่นคำร้องขอก่อนศาลมีคำสั่ง (มาตรา ๔๙ วรรคห้า)
  • ผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินอาจยื่นคำร้องก่อนศาลมีคำสั่งตามโดยแสดงให้ศาลเห็นว่าตนเป็นเจ้าของที่แท้จริง และทรัพย์สินนั้นไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือตนเป็นผู้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน หรือได้มาโดยสุจริตและตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางกุศลสาธารณะ แต่หากผู้อ้างว่าเป็นเจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์สินเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินมาก่อน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาทรัพย์สินดังกล่าว เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือได้รับโอนมาโดยไม่สุจริต (มาตรา ๕๐และมาตรา๕๑ วรรคสอง)
  • เมื่อศาลทำการไต่สวนคำร้องของพนักงานอัยการแล้ว หากศาลเชื่อว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และคำร้องของผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือผู้รับโอนทรัพย์สินที่ไม่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฟังไม่ขึ้น ให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน
a

เมื่อตกเป็นผู้ต้องหา/ จำเลย เพื่อนๆ -คนรู้จัก จะพากันหายหน่้า คิดว่่าจะมีสักกี่คนที่รู้จริง และคอยช่วยเหลือแก้ปัญหาให้ ในชั้นตำรวจ-ชั้นศาล ส่วนใหญ่แค่มาพูดปลอบใจช่วยอะไรไม่ได้เลย จะเห็นสัจธรรมชีวิตก็คราวนี้ เรามีทีมงานพร้อมดูแลท่าน ทั้งในและนอกศาล

หากท่านต้องหาคดี   ใน 29 ความผิดมูลฐานนี้ (คลิ๊กดู )    ก็จะต้องถูกดำเนินคดึ ตาม พรบ.ฟอกเงิน  เพิ่มอีกอย่างเสียมิได้  และมีโทษทั้งอาญาคือจำคุก  และยึด / อายัด ทรัพย์สินที่หามาตลอดชีวิต  ไม่ว่าอยู่ในมือท่านหรือคนรอบข้างหรือผู้เกี่ยวข้องก็ตาม

 


หลักสำคัญ กฎหมายฟอกเงินนี้  ท่านที่ถูกดำเนินคดี จะต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์การได้มาซึ่งทรัพย์สิน ทั้งหมดที่ถูกยึด/อายัด  ไป  หากพิสูจน์ว่าได้มาโดยสุจริต จะต้องไม่ลืมว่า ต้องผ่านการเสียภาษีถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่เสียภาษีมาก่อน ท่านอาจจะถูก สรรพากร ดำเนินคดีซ้ำอีก เจอทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม เรียกว่า  “หนีเสือปะจรเข้” คิดไกล ๆ ก่อนทรัพย์สินที่หามาได้ทั้งชีวิต จะถูกยึดไปต่อหน้าต่อตา